การก่อรูปของจิตสำนึก

การก่อรูปของจิตสำนึก
นักจิตวิทยาการศึกษา มีความเห็นพ้องต้องกันว่า จิตสำนึกเป็นคุณลักษณะทางจิตพิสัยที่ปรากฏ หรือก่อรูปขึ้นในจิตใจของมนุษย์แต่ละคนภายหลังได้รับรู้ปรากฏการณ์ หรือได้รับสิ่งเร้าจากภายนอกในเชิงสะสม การก่อรูปที่มีความต่อเนื่องกันจึงยากที่จะกำหนดแยกแยะหรือทำการจัดลำดับชั้นเพื่อบ่งชี้ว่า บุคคลมีความรู้สึกอยู่ที่ใดได้ชัดเจน แน่นอน การก่อรูปของจิตสำนึกยังเกี่ยวกันกับคุณลักษณะทางด้านสติปัญญาและการกระทำของมนุษย์อีกด้วย หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าจิตสำนึกเป็นผลลัพธ์เชิงคุณลักษณะทางจิตใจของมนุษย์ที่ก่อรูปขึ้นผ่านกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1. คุณลักษณะทางด้านพุทธิพิสัย หมายถึง การได้รับรู้ (Cognition) หรือการมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้บุคคลรู้จักหรือระลึกถึงมีความเข้าใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินคุณค่าของสิ่งดังกล่าวได้ และนำไปสู่การก่อรูปของจิตสำนึก
2. คุณลักษณะด้านจิตพิสัย หมายถึง ความรู้สึกทางจิตใจ (Affection) อันได้แก่การมีความสนใจหรือใฝ่ใจในสิ่งดังกล่าว โดยมีปฏิกิริยาสนองตอบการเห็นหรือให้คุณค่า การจัดระบบของคุณค่าและสร้างเป็นคุณลักษณะนิสัยที่นำไปสู่จิตสำนึก
3. คุณลักษณะทางด้านทักษะพิสัยที่หมายถึง พฤติกรรม (Behavior) หรือการแสดงออกที่สามารถจะสังเกตรูปแบบความประพฤติได้อย่างชัดเจนที่เรียกว่า บุคลิกภาพจิตสำนึกของบุคคลจึงเป็นผลการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งเร้า การรับรู้ ในส่วนนี้ได้ก่อขึ้นในจิตใจของบุคคลในรูปของความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรม เป็นคุณลักษณะทางจิตที่ก่อรูปผ่านกระบวนการทางปัญญาเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น